จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

Vroom ‘s Expectancy Theory

Vroom ‘s Expectancy Theory

กลุ่ม 19  (Vroom ‘s Expectancy Theory)
ทฤษฏีความคาดหวังของวรูม Vroom ‘s Expectancy Theory
วิคเตอร์ เอช วรูม (Victer H. Vroom) เป็นชาวแคนาดา เป็นศาสตราจารย์ด้านการวิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับจิตวิทยาของพฤติกรรมในองค์กร โดยเฉพาะเรื่องภาวะผู้นำ และสมรรถนะการตัดสินใจ หนังสือที่ท่านแต่งในปี 1964 เรื่อง “Work and Motivation” (งานและการกระตุ้น) ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย และหนังสือเกี่ยวกับผู้นำและผู้บริหาร “Leadership and Decision Making and The New Leadership” (ผู้บริหารกับการตัดสินใจและผู้บริหารสมัยใหม่) ก็ถูกอ้างอิงถึงอย่างมากมายในการศึกษา และการพัฒนาของพฤติกรรมองค์กรกำเนิดของแคนาดา นอกจากนี้ท่านยังเป็นที่ปรึกษาชั้นนำกว่า 50 บริษัท เช่น อเมริกันเอกซ์เพรส ,จีอี ,จีทีอี เป็นต้น

            Vroom ‘ s Expectancy theory ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยเสนอแนวความคิดว่า บุคคลจะได้รับการกระตุ้นให้กระทำสิ่งซึ่งสามารถบรรลุเป้าหมาย ถ้าเชื่อในคุณค่าของเป้าหมาย และมองเห็นว่าจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ ทฤษฎีของ Vroom เป็นการจูงใจของบุคคลที่มีต่อสิ่งซึ่งมีคุณค่าในผลลัพธ์จากการใช้ความพยายาม (อาจจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบ) คูณด้วยความคาดหวังจากการใช้ความพยายามเพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึ่ง Vroom ได้ระบุว่าการจูงใจเป็นสิ่งที่มีค่าที่แต่ละบุคคล จะพยายามกำหนดเป้าหมายและโอกาสเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น
            ทฤษฎี Vroom และการปฏิบัติ (The Vroom theory and practice)
สิ่งที่น่าสนใจของทฤษฎีนี้ก็คือการระลึกถึงความสำคัญของความต้องการ เฉพาะบุคคลและการจูงใจให้เหมาะสม และมีความเข้ากันกับวัตถุประสงค์ ซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีการจูงใจของ Maslow และ Herzberg โดยแต่ละบุคคลจะมีเป้าหมายส่วนตัวที่แตกต่างจากเป้าหมายขององค์กร แต่สามารถเข้ากันได้ นอกจากนี้ทฤษฎี Valence ยังสอดคล้องกับหลักการจัดการโดยวัตถุประสงค์ (MNO)จากข้อสมมติฐานดังกล่าว หน้าที่ของผู้บริหารคือการออกแบบสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่เหมาะสมและ การศึกษาความแตกต่างในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งจะทำให้บุคคลเกิดพฤติกรรมที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย ทฤษฎีนี้ค่อนข้างยากสำหรับการนำไปปฏิบัติ

            ทฤษฎี Vroom เป็นไปตามสมการ ดังนี้
อำนาจ (Force) = คุณค่าความพอใจในผลลัพธ์ (Valence) x ความคาดหวัง (Expectancy) โดยอำนาจ (Force) เป็นพลังที่เป็นแรงจูงใจภายในของบุคคล คุณค่าความพอใจในผลลัพธ์ (Valence) เป็นการที่บุคคลประเมินค่าผลลัพธ์ว่าก่อให้เกิดความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ โดยจะมีค่าระหว่าง -1 ถึง +1 ส่วนความคาดหวัง (Expectancy) เป็นการกระทำเฉพาะอย่างซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ

            สมมติฐานที่สำคัญของทฤษฎีความคาดหวัง มีดังนี้
1. พฤติกรรมเป็นผลมาอำนาจ (Force) หรือพลังในตัวบุคคลกับสภาพแวดล้อม 
2. บุคคลแต่ละคนจะมีความต้องการ ความปรารถนา และเป้าหมายที่แตกต่างกัน 
3. บุคคลเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับทางเลือกของพฤติกรรม ซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ ทฤษฎีความคาดหวังของ Vroom (Expectancy theory) เสนอว่าแต่ละบุคคลจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน โดยถือเกณฑ์ ความสามารถ ประสบการณ์ในการทำงานและการได้รับรางวัล ทฤษฎีนี้มีข้อสมมติที่ว่าการจูงใจ (Motivation) ขึ้นกับวิธีการซึ่งบุคคลต้องการ และวิธีการซึ่งบุคคลคิดว่าจะได้สิ่งนั้น ทฤษฎีนี้ถือว่าความเชื่อถือของบุคคล จะนำไปสู่การเกิดผลลัพธ์อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อจะทำให้เกิดพฤติกรรม ซึ่งจะนำไปสู่การบรรลุจุดมุ่งหมาย และเลือกพฤติกรรมที่คาดว่าจะประสบความสำเร็จสูงสุด   
       
 สิ่งสำคัญสำหรับทฤษฎีความคาดหวังก็คือความเข้าใจในเป้าหมายส่วนบุคคล และการมุ่งที่ความสัมพันธ์ 3 ประการ คือ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างความพยายามกับการปฏิบัติงาน (Effort-performance relationship) ซึ่งเป็นการ ใช้ความพยายามของบุคคลที่จะนำไปสู่การปฏิบัติงาน 
2. ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานกับรางวัล (Performance-reward relationship) บุคคล มีความเชื่อว่าการทำงานในระดับในระดับหนึ่งจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์ที่ต้อง การ 
3. ความสัมพันธ์ระหว่างรางวัลกับเป้าหมายส่วนบุคคล (Rewards-personal goals relationship) รูปการแสดงมิติในการปฏิบัติงาน (Performance dimensions) ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการปฏิบัติงานว่าขึ้นอยู่กับสิ่งที่ให้การสนับสนุน โมเดลที่เป็นที่นิยมชี้ว่าการปฏิบัติงานของพนักงานเป็นหน้าที่ที่มี ปฏิกิริยาระหว่างกันเกี่ยวกับความสามารถและการจูงใจในการทำงาน ผลการปฏิบัติงาน = ความสามารถ x การจูงใจ Performance = Ability x Motivation = f (A x M)

            การนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กร/หน่วยงานในประเทศไทย
การนำทฤษฎีความคาดหวังของวรูม มาประยุกต์ใช้นั้นสามารถพบได้ทั่วไปกับวงการราชการผู้บริหารขององค์กรจะ กระตุ้นพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง และเชื่อมั่นต่อไปว่าหากเจ้าหน้าที่คนนั้น ได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว ย่อมจะสร้างผลงานที่น่าพอใจได้อย่างแน่นอน หากผลงานของเจ้าหน้าที่ผู้นั้นดีถึงระดับที่กำหนดแล้ว เจ้าหน้าที่คนนั้นจะได้รับการเลื่อนขั้นและรับรางวัลเป็นลำดับๆ ไป นอกจากนี้ในระบบงานราชการ ยังเพิ่มคุณค่าให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามลำดับขั้น โดยการพิจารณาความดีความชอบแก่พนักงานมีอีกหลายวิธี ก็เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ เกิดความภาคภูมิใจ อันจะเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับผลลัพธ์ ที่ได้ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีความคาดหวัง 
ที่มา: วรารัตน์ สุวรรณไตรย์

ที่มา: วรารัตน์ สุวรรณไตรย์