จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

Vroom ‘s Expectancy Theory

Vroom ‘s Expectancy Theory

กลุ่ม 19  (Vroom ‘s Expectancy Theory)
ทฤษฏีความคาดหวังของวรูม Vroom ‘s Expectancy Theory
วิคเตอร์ เอช วรูม (Victer H. Vroom) เป็นชาวแคนาดา เป็นศาสตราจารย์ด้านการวิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับจิตวิทยาของพฤติกรรมในองค์กร โดยเฉพาะเรื่องภาวะผู้นำ และสมรรถนะการตัดสินใจ หนังสือที่ท่านแต่งในปี 1964 เรื่อง “Work and Motivation” (งานและการกระตุ้น) ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย และหนังสือเกี่ยวกับผู้นำและผู้บริหาร “Leadership and Decision Making and The New Leadership” (ผู้บริหารกับการตัดสินใจและผู้บริหารสมัยใหม่) ก็ถูกอ้างอิงถึงอย่างมากมายในการศึกษา และการพัฒนาของพฤติกรรมองค์กรกำเนิดของแคนาดา นอกจากนี้ท่านยังเป็นที่ปรึกษาชั้นนำกว่า 50 บริษัท เช่น อเมริกันเอกซ์เพรส ,จีอี ,จีทีอี เป็นต้น

            Vroom ‘ s Expectancy theory ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยเสนอแนวความคิดว่า บุคคลจะได้รับการกระตุ้นให้กระทำสิ่งซึ่งสามารถบรรลุเป้าหมาย ถ้าเชื่อในคุณค่าของเป้าหมาย และมองเห็นว่าจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ ทฤษฎีของ Vroom เป็นการจูงใจของบุคคลที่มีต่อสิ่งซึ่งมีคุณค่าในผลลัพธ์จากการใช้ความพยายาม (อาจจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบ) คูณด้วยความคาดหวังจากการใช้ความพยายามเพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึ่ง Vroom ได้ระบุว่าการจูงใจเป็นสิ่งที่มีค่าที่แต่ละบุคคล จะพยายามกำหนดเป้าหมายและโอกาสเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น
            ทฤษฎี Vroom และการปฏิบัติ (The Vroom theory and practice)
สิ่งที่น่าสนใจของทฤษฎีนี้ก็คือการระลึกถึงความสำคัญของความต้องการ เฉพาะบุคคลและการจูงใจให้เหมาะสม และมีความเข้ากันกับวัตถุประสงค์ ซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีการจูงใจของ Maslow และ Herzberg โดยแต่ละบุคคลจะมีเป้าหมายส่วนตัวที่แตกต่างจากเป้าหมายขององค์กร แต่สามารถเข้ากันได้ นอกจากนี้ทฤษฎี Valence ยังสอดคล้องกับหลักการจัดการโดยวัตถุประสงค์ (MNO)จากข้อสมมติฐานดังกล่าว หน้าที่ของผู้บริหารคือการออกแบบสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่เหมาะสมและ การศึกษาความแตกต่างในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งจะทำให้บุคคลเกิดพฤติกรรมที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย ทฤษฎีนี้ค่อนข้างยากสำหรับการนำไปปฏิบัติ

            ทฤษฎี Vroom เป็นไปตามสมการ ดังนี้
อำนาจ (Force) = คุณค่าความพอใจในผลลัพธ์ (Valence) x ความคาดหวัง (Expectancy) โดยอำนาจ (Force) เป็นพลังที่เป็นแรงจูงใจภายในของบุคคล คุณค่าความพอใจในผลลัพธ์ (Valence) เป็นการที่บุคคลประเมินค่าผลลัพธ์ว่าก่อให้เกิดความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ โดยจะมีค่าระหว่าง -1 ถึง +1 ส่วนความคาดหวัง (Expectancy) เป็นการกระทำเฉพาะอย่างซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ

            สมมติฐานที่สำคัญของทฤษฎีความคาดหวัง มีดังนี้
1. พฤติกรรมเป็นผลมาอำนาจ (Force) หรือพลังในตัวบุคคลกับสภาพแวดล้อม 
2. บุคคลแต่ละคนจะมีความต้องการ ความปรารถนา และเป้าหมายที่แตกต่างกัน 
3. บุคคลเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับทางเลือกของพฤติกรรม ซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ ทฤษฎีความคาดหวังของ Vroom (Expectancy theory) เสนอว่าแต่ละบุคคลจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน โดยถือเกณฑ์ ความสามารถ ประสบการณ์ในการทำงานและการได้รับรางวัล ทฤษฎีนี้มีข้อสมมติที่ว่าการจูงใจ (Motivation) ขึ้นกับวิธีการซึ่งบุคคลต้องการ และวิธีการซึ่งบุคคลคิดว่าจะได้สิ่งนั้น ทฤษฎีนี้ถือว่าความเชื่อถือของบุคคล จะนำไปสู่การเกิดผลลัพธ์อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อจะทำให้เกิดพฤติกรรม ซึ่งจะนำไปสู่การบรรลุจุดมุ่งหมาย และเลือกพฤติกรรมที่คาดว่าจะประสบความสำเร็จสูงสุด   
       
 สิ่งสำคัญสำหรับทฤษฎีความคาดหวังก็คือความเข้าใจในเป้าหมายส่วนบุคคล และการมุ่งที่ความสัมพันธ์ 3 ประการ คือ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างความพยายามกับการปฏิบัติงาน (Effort-performance relationship) ซึ่งเป็นการ ใช้ความพยายามของบุคคลที่จะนำไปสู่การปฏิบัติงาน 
2. ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานกับรางวัล (Performance-reward relationship) บุคคล มีความเชื่อว่าการทำงานในระดับในระดับหนึ่งจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์ที่ต้อง การ 
3. ความสัมพันธ์ระหว่างรางวัลกับเป้าหมายส่วนบุคคล (Rewards-personal goals relationship) รูปการแสดงมิติในการปฏิบัติงาน (Performance dimensions) ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการปฏิบัติงานว่าขึ้นอยู่กับสิ่งที่ให้การสนับสนุน โมเดลที่เป็นที่นิยมชี้ว่าการปฏิบัติงานของพนักงานเป็นหน้าที่ที่มี ปฏิกิริยาระหว่างกันเกี่ยวกับความสามารถและการจูงใจในการทำงาน ผลการปฏิบัติงาน = ความสามารถ x การจูงใจ Performance = Ability x Motivation = f (A x M)

            การนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กร/หน่วยงานในประเทศไทย
การนำทฤษฎีความคาดหวังของวรูม มาประยุกต์ใช้นั้นสามารถพบได้ทั่วไปกับวงการราชการผู้บริหารขององค์กรจะ กระตุ้นพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง และเชื่อมั่นต่อไปว่าหากเจ้าหน้าที่คนนั้น ได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว ย่อมจะสร้างผลงานที่น่าพอใจได้อย่างแน่นอน หากผลงานของเจ้าหน้าที่ผู้นั้นดีถึงระดับที่กำหนดแล้ว เจ้าหน้าที่คนนั้นจะได้รับการเลื่อนขั้นและรับรางวัลเป็นลำดับๆ ไป นอกจากนี้ในระบบงานราชการ ยังเพิ่มคุณค่าให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามลำดับขั้น โดยการพิจารณาความดีความชอบแก่พนักงานมีอีกหลายวิธี ก็เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ เกิดความภาคภูมิใจ อันจะเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับผลลัพธ์ ที่ได้ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีความคาดหวัง 
ที่มา: วรารัตน์ สุวรรณไตรย์

ที่มา: วรารัตน์ สุวรรณไตรย์

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

เลี้ยงส่ง นักเรียน ม.3 23/03/54

งานปัจฉิมนิเทศนักเรียน ม.3 

คณะครูเตรียมหมูกะทะเลี้ยงนักเรียน

 
คุณครูยกเองเลยกลัวนักเรียนไม่ได้กิน

 
นักเรียนมอบเก้าอี้ให้โรงเรียนเป็นที่ระลึก เขียนชื่อของใครเป็นของใคร

 
คณะครูอาวุโส เตรียมของหวาน 

 
นักเรียนเริ่มลงมือรับประทานหมูกะทะแล้ว

 
โต๊ะนักเรียนหญิงเรียบร้อย กุลสตรี

 
ค่อยกินก็ได้ นักเรียนชาย ยังไม่สุกเลยกินซะละ

 
กินกันอย่างอร่อย ลืมตากล้องซะแล้ว

 
หน้าตาเบิกบาน ที่จบ หรือที่ได้กินหมูกะทะ ???

 
คณะครู เริ่มลงมือกันแล้ว

 
โต๊ะแรก นักเรียน ม.2 เป็นพนักงานเสริฟสำหรับวันนี้

 
พนักงานเสริฟ รู้สึกจะไม่สนใจเสริฟเลย 

 
ถ่ายรูปกับนักเรียนดีเด่นในด้านต่างๆ

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

ปัจจุบันนักการศึกษาทั่วโลกเรียกร้องให้จัดการศึกษาด้วยการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือที่ไทย  เราใช้คำว่าการจัดการเรียนการสอนที่ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด   จากข้อมูลการปฏิบัติของครูอาจารย์ในบ้านเราพบความลักลั่นเป็นปัญหาพอควร  จากความเข้าใจผิดเข้าใจไม่ครบถ้วนและเข้าใจไม่ตรงกันจนมีผู้ยกเป็นประเด็นว่า  รูปแบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญน่าจะเป็นการทำลายคุณภาพของการศึกษา           ตัวอย่างของความ สับสนจนทำให้ผู้ปกครองและนักเรียนเองก็สงสัยในความดีงามของการเรียนการสอน แบบนี้  ครูบางคนอ้างถึงการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจึงปล่อยให้ผู้เรียนเรียนตามลำพัง จนเกือบจะเรียกว่าตามยถากรรม  กิจกรรมหนักไปทางการศึกษาค้นคว้าจากหนังสือและสื่อต่าง ๆ ตามความสนใจจนบางครั้งคล้ายกับไร้ทิศทาง  ไร้มาตรฐาน  นักเรียนเองพอใจกับการได้ทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง  สนุก  เพลิดเพลิน  ได้เรียนรู้หลายด้านนอกจากได้ความรู้  แต่นักเรียนก็เรียกร้องอยากให้ครูช่วยให้คำแนะนำในสิ่งที่ควรรู้ควรเก่งตาม มาตรฐานที่ดีงาม  อยากให้ครูช่วยแนะนำในสิ่งที่ควรปรับปรุงในผลการทำกิจกรรมเพื่อทวีความรู้ ความสามารถ  รวมถึงช่วยแนะแนวทิศทางที่นักเรียนแต่ละคนควรขวนขวายพยายามเรียนรู้ให้สอด คล้องกับพื้นฐานความถนัดความสามารถที่แตกต่างกันของแต่ละคน
          อาจารย์ดำรง  สุวรรณกาญจน์  ครูแห่งชาติจากโรงเรียนยะหาศิรยานุกูล  ยะลา ให้ความหมายของการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ดี  ท่านกล่าวว่า เดิมเรามุ่งสอนเด็กโดยการเน้นการท่องจำตามตำรา เด็กจึงไม่ได้เรียนรู้อย่างแท้จริง  มองข้ามความสามารถของเด็กไป  การเรียนการสอนแนวใหม่นี้ส่งผลให้เด็กเรียนรู้จากการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น  การจัดการเรียนการสอนต้องทำให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็กแต่ละคน  อาจารย์ดำรงสอนวิทยาศาสตร์โดยนำเอาตัวอย่างของจริงที่เห็นได้ในชีวิตประจำวันมาอิงกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ในตำราเรียน  แล้วให้เขา ออกแบบการทดลองและปฏิบัติจริง  ในการสอนจะเน้นให้เด็กคิดเป็น  ทำเป็น  ใช้จินตนาการของตนให้มาก  อาจารย์ดำรงเชื่อว่าความสามารถของเด็กไทยไม่ได้แพ้เด็กต่างชาติเลย เพียงแต่เราสอนเด็กโดยเน้นทฤษฎีมากเกินไป  ทำให้นักเรียนขาดทักษะในการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
          ผมคิดว่าถ้าครูจะจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญให้ได้ผลสูงสุด  ครูคงจะต้องปรับเปลี่ยนความเชื่อ  ความคิดและวิธีปฏิบัติบางประการ จากความคิดเดิมเป็นความคิดใหม่


          ประการที่ 1  :  ความคิดเดิม  ครูมองความสำเร็จของการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ   มุ่งไปที่การดูว่าครูมีวิธีสอนที่ทำให้เด็กมีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเน้นการคิดเอง ปฏิบัติเอง  ของเด็ก
          ความคิดใหม่  ความสำเร็จของการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ที่ผลลัพธ์ของผู้ เรียนถ้า  ผู้เรียนรายบุคคลทุกคนมีผลการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ครบถ้วนตามมาตรฐานความมุ่ง หมายของหลักสูตรแม้ผู้เรียนจะมีความแตกต่างกันในพื้นฐานความสามารถและความ สนใจ  แต่ครูมีฝีมือทำให้ผู้เรียนทุกคนบรรลุผลการเรียนรู้ที่พึงปรารถนาได้  ซึ่งแน่นอนว่าผลลัพธ์เช่นนี้จะต้องเกิดจากฝีมือในการจัดกระบวนการเรียนการ สอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญนั่นเอง
          ประการที่ 2  :  ความคิดเดิม  เชื่อว่าผู้เรียนมีความสามารถต่างกันจึงมีผลการเรียนรู้ได้ไม่เท่ากัน  เข้าทำนองคนเก่งเท่านั้นจึงเรียนดี คนอ่อนเรียนไม่ดี  ความคิดใหม่  ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ ได้เท่ากันถ้าครูจัดวิธีการเรียนให้เหมาะกับความสามารถของเขา  ข้อสำคัญสิ่งที่กำหนดในหลักสูตรแต่ละวิชาล้วนเป็นมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่ นักพัฒนาหลักสูตรมุ่งให้บังเกิดกับผู้เรียนทุกคนไม่เคย มีข้อยกเว้นว่า หลักสูตรที่เขียนนั้นเด็กบางคนที่เก่งเรียนได้ เด็กที่ไม่เก่งเรียนไม่ได้
          ประการที่ 3 :  ความคิดเดิม  ผู้เรียนเรียนรู้จากการอ่าน  การฟัง  การฝึก  และการจดจำ  ความคิดใหม่  ผู้เรียนเรียนรู้จากการได้รับประสบการณ์จากแหล่งต่าง ๆ เช่น ได้จากการสังเกต   รับรู้ข้อมูล  จากกระบวนการคิดกำหนดเป้าหมายความรู้ความสามารถ ที่มีแรงจูงใจอยากได้ อยากรู้ อยากเห็น แล้ววางแผนแสวงหาคำตอบจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ จากการค้นคว้า  จากการทดลองปฏิบัติ  จากการสอบถามผู้รู้  จากการวิเคราะห์สิ่งที่รับรู้  จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อน  รับข้อมูลสะท้อนยืนยันความถูกต้องจากครู  จนสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ของตนเอง
          ประการที่ 4  :  ความคิดเดิม  ผลการเรียน คือ ความรู้ที่แสดงออกด้วยการจดจำความจริง       กฎ  เกณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นเนื้อหา  ความคิดใหม่  ผลการเรียน คือความสมดุลของความรู้  ความคิด  ความสามารถในการวิเคราะห์สังเคราะห์ ประยุกต์ใช้ความรู้  ความสามารถในการแก้ปัญหา  ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มีเครื่องมือวิธีการหาความรู้ปรับเปลี่ยนได้ด้วยตนเองรวมถึงการมีเจตคติ    ค่านิยม  ความเชื่อที่เหมาะสม  
          ประการที่ 5  :  ความคิดเดิม  ครูมีกระบวนการสอนที่เป็นมาตรฐานตายตัวใช้กับผู้เรียนทุกคน เช่น มีขั้นนำเข้าสู่บทเรียน  ขั้นให้ความคิดรวบยอดหลักการ  ขั้นขยายความรู้  ขั้นฝึกปฏิบัติ   ขั้นสรุป
ความคิดใหม่  ครูรู้จักจุดเด่นจุดอ่อนของผู้เรียนรายบุคคลจากการประเมินก่อนสอน  ครูออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ให้เหมาะกับจุดเด่นจุดอ่อน  ใช้กระบวนการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นหลากหลาย เพราะสิ่งที่เรียนยากนั้นถ้าผ่านทางกระบวนการเรียนรู้จากของจริง ปฏิบัติจริงเป็นขั้นตอนจากง่ายไปหายาก   ผู้เรียนจะเรียนได้สะดวกขึ้น  มีการจัดกลุ่มผู้เรียนที่สอดคล้องกับความสามารถ  ปรับเวลาให้ยืดหยุ่นสำหรับผู้เรียนช้า  ผ่านเครื่องมือช่วยการเรียนรู้ เช่น สื่อการเรียนด้วยตนเองและเทคโนโลยีช่วยเรียนที่หลากหลาย จะสนองผู้เรียนที่แตกต่างกันได้ดี  ไม่เกิดปรากฏการณ์ที่สอนให้เด็กปานกลางเรียนได้  เด็กเก่งแต่เบื่อหน่าย  และเด็กอ่อนเรียนไม่ได้เลย
          ประการที่ 6  :  ความคิดเดิม   ปล่อยให้เด็กทำกิจกรรมเรียนรู้ตามลำพัง  ครูอำนวยความสะดวกจัดสื่อจัดแหล่งการเรียนรู้ 


          ความคิดใหม  ครูทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงหรือโค้ช (Coach) ให้คำแนะนำใกล้ชิด  ร่วมวางแผนโดยยึดมาตรฐานการเรียนรู้ที่ควรได้รับ  แนะนำให้เด็กเข้าใจจุดอ่อนจุดแข็งของตน  ให้เรียนรู้ด้วยวิธีที่เด็กถนัด  คอยติดตามผลการทำกิจกรรม  ให้ความเห็นป้อนกลับ (Feedback) ให้เด็กมั่นใจในผลลัพธ์ที่ถูกต้อง  ให้ปรับปรุงในสิ่งที่ยังด้อย  เสริมความรู้ให้ครบตามมาตรฐาน  ให้คำปรึกษาเมื่อเด็กพบปัญหาอุปสรรค  และกระตุ้นให้กำลังใจในความเพียรพยายามให้กล้าคิดกล้าลองแสวงหาความรู้ที่เขาสนใจ
          ประการที่ 7  :  ความคิดเดิม  การวัดผลประเมินผลมีจุดอ่อนในการยึดเพียงเนื้อหาตามตำรา   มีจุดอ่อนที่ใช้เครื่องมือวัดผลที่จำกัดความคิดของเด็ก เช่น ใช้ข้อสอบแบบเลือกตอบที่วัดความรู้ความจำผิวเผิน  มีจุดอ่อนที่วัดผลประเมินผลน้อยครั้ง  วัดและประเมินเพียงเพื่อตัดสินผลการเรียนความคิดใหม่ เน้นการติดตามผลการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลตลอดเวลาเพื่อระบุสิ่งที่ยัง บกพร่องแล้วช่วยให้มีการปรับปรุงแก้ไขให้ได้ผลการเรียนรู้ครบถ้วน วัดครอบคลุมความรู้ความสามารถตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่ดี ใช้วิธีการวัดการประเมินหลายอย่างทั้งการประเมินจาก พฤติกรรมการปฏิบัติ  ประเมินจากผลงาน  ประเมินจากการใช้ข้อสอบที่เน้นการเขียนตอบแสดงความคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์อย่างกว้างขวาง  ใช้ผลการวัดการประเมินเพื่อการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ครบถ้วนตามมาตรฐาน
        บทสรุป
          หัวใจสำคัญของความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ที่ความเป็นครูมืออาชีพที่มุ่งมั่นคิดค้น  แสวงหาวิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีความสำเร็จในการเรียนรู้เต็มศักยภาพ  ครบถ้วนตามมาตรฐาน  โดยใช้พื้นฐานความรักความเมตตาที่ครูมีต่อผู้เรียนทุกคนอย่างแท้จริง


ที่มาของข้อมูล : ดร.สงบ  ลักษณะ


วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554